สาระน่ารู้ เรื่องพายุหมุนเขตร้อน
พายุหมุนเขตร้อน เริ่มต้นการก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงซึ่งอยู่เหนือผิวน้ำทะเล ในบริเวณเขตร้อนและเป็นบริเวณที่กลุ่มเมฆจำนวนมากรวมตัวกันอยู่โดยไม่ปรากฏ การหมุนเวียนของลม หย่อมความกดอากาศต่ำ กำลังแรงนี้
เมื่ออยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวยก็จะพัฒนาตัวเองต่อไป จนปรากฏระบบหมุนเวียนของลมอย่างชัดเจน ลมพัดเวียนเป็นวนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ
พายุหมุนในแต่ละช่วงของความรุนแรงจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวและเปลี่ยนแปลงไปตาม สภาวะแวดล้อม ความเร็วลมในระบบหมุนเวียนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นลำดับ
ประเภทของพายุหมุนเขตร้อน ตามข้อตกลงระหว่างประเทศได้แบ่งพายุหมุนเขตร้อน บริเวณทะเลจีนใต้และบริเวณด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ โดยถือตามความรุนแรงของความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง ดังนี้คือ
1. พายุดีเปรสชั่น (Depression) คือพายุหมุนที่มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางบริเวณพื้นผิวไม่เกิน 33 นอต (61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุดีเปรสชั่นส่วนใหญ่จะไม่มีการตั้งชื่อเฉพาะพายุแต่ละลูก
2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm) คือ พายุหมุนที่มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางบริเวณพื้นผิวระหว่าง 34-64 นอต (63-118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุโซนร้อนจะพัฒนาขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นหรือเฮอริเคน
3. พายุไต้ฝุ่น (Typhoon) คือ พายุหมุนที่มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง บริเวณผิวพื้นตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) และถ้ามีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางบริเวณพื้นผิวมากกว่า 130 นอต (241 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เรียกพายุหมุนนี้ว่า "ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น" (Supper Typhoon) พายุไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นแต่ละลูกจะมีการตั้งชื่อเฉพาะ เช่น พายุไต้ฝุ่นเกย์ พายุไต้ฝุ่นแองเจลา เป็นต้น
บริเวณแหล่งกำเนิดของพายุหมุน
-.บริเวณหมู่เกาะอินดิสตะวันตก อ่าวเม็กซิโก และแถบทะเลแคริบเบียน ของมหาสมุทร แอตแลนติกเหนือเรียกว่า เฮอริเคน (Hurricane)
- บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ได้แก่ ทะเลจีน และเกาะญี่ปุ่น เรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon) แถวหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เรียกว่า บาเกียว (Baquio)
- บริเวณทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล เรียกว่า ไซโคลน (Cyclone)
- บริเวณชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิกฟิกเหนือและชายฝั่งตะวันตกของเม็กซิโก เรียกว่า คอร์โดนาโซ (Cordonazo)
- บริเวณด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ได้แก่ หมู่เกาะซามัว หมู่เกาะฟิจิและชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของออสเตรเลีย เรียกว่า วิลลี่ วิลลี่ (Willy Willy)
กองข่าวอากาศ กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
โทรศัพท์: 2-1849 21856 แฟกซ์: 2-1017
วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สาระน่ารู้เรื่องพายุเขตร้อน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 แสดงความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น