วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ต้นตอและสาเหตุของความขัดแย้งทางด้าน"การเมือง"


  

    ทุกคนคงเคยได้ยินข้อห้ามที่ว่า"ในวงเหล้าอย่าคุยเรื่อง การเมือง เชื้อชาติ และ ศาสนา" เพราะจะทำให้เกิดข้อโต้แย้งขึ้นมาและจะเถียงกันไม่รู้จักจบจักสิ้นยิ่งถ้ามีฤทธิ์เหล้าไปเป็นตัวกระตุ้นต่อมด้วยแล้วล่ะก็ไม่มีใครยอมใครแน่  บางทีก็ร้ายแรงถึงขั้นตายกันไปข้างนึงก็มีเป็นข่าวให้เราได้เห็นก็มาก เป็นธรรมชาติของมนุษย์โลกธรรมดาๆอย่างเราๆ คงไม่ต้องสงสัยว่าเวลาที่มีคนมาพูดจาลบหลู่ หรือพูดในทางเสียๆหายรวมไปถึงการกระทำใดๆที่ทำให้เกิดผลเสียต่อความเชื่อและสิ่งที่เราศรัทธาแล้วเราจะรู้สึกยังงัย ทุกคนย่อมต้องรู้สึกเดือดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว 
      เคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำมัยตัวเราจึงต้องรู้สึกอย่างนั้น  ถ้ามีคนตอบผมว่า"มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์โลก"ใช่ครับผมไม่เถียง แต่ถ้าถามถึงว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกอะไรได้ขนาดนั้นเนี่ยมันน่าจะมีคำตอบที่ดีกว่านี้ คำตอบของมันอาจจะหาได้จาก ตำรา บทความ หรือ คำกล่าว ของพวกนักวิชาการ นักเศรษฐสาตร์ นักเขียน นักการเมือง นักบวช ฯลฯ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีที่ง่ายและไม่ต้องมานั่งคิดให้เปลืองสมอง  แต่เราจะเชื่อใครดีล่ะเพราะเชื่อได้เลยว่าไอ้พวกนักวิชาการทั้งหลายนั้นไม่ได้มีแนวความคิดที่เหมือนกันหมดทุกคนต่างคนก็ต้องต่างความคิดเป็นธรรมดา 
     สำหรับส่วนตัวผมแล้วผมเลือกที่จะเชื่อในความคิดของตัวเองมากกว่าที่จะเชื่อความคิดของคนอื่น แน่นอนว่าผมไม่ได้หวังที่จะให้ใครมาเชื่อและเห็นด้วยกับความคิดของตัวผม(จะเขียนใครจะทำมัย)
ก่อนที่เราจะทราบถึงสาเหตุที่เป็นต้นตอของปัญหา เรามาทำความรู้จักกับคำว่า"การเมือง"ซักหน่อยดีกว่า...การเมือง...ความหมายที่ถูกต้องตามพจนานุกรม หรือตามหลักวิชาการนั้น แปลว่าอะไรผมไม่ขอพูดถึง(เพราะไม่รู้) ผมจะยึดหลักความคิดของผมเป็นหลัก ไม่มีแหล่งที่มาไม่มีหนังสืออ้างอิงใดๆ ตามความเข้าใจส่วนตัวล้วนๆ
    "การเมือง"ในความเข้าใจของผมก็คือ สิ่ง หรือเหตุใดๆที่ กำเนิดขึ้น,ล่มสลายลง,แปรผันหรือเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดๆก็ตาม ที่เป็นเป็นผลมาจาก การดำเนินการ,การกระทำ,กิจกรรมต่างๆ ของ
องค์การ,องค์กร,หน่วยงาน,พรรค,กลุ่ม,แนวร่วม,หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ รูปแบบ หรือ ระบอบการปกครอง ของส่วนนั้นๆ เช่น ท้องถิ่น,ภูมิภาค,รัฐ,ประเทศ ทั้งทางตรงและทางอ้อม  
    การเมืองย่อมมาคู่กับการปกครองเป็นของธรรมดา ซึ่งการปกครองของแต่ละประเทศแต่ละเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ย่อมจะมีรูปแบบการปกครองไม่เหมือนกันหมดทุกที่ แต่อาจจะคล้ายกัน  ส่วนมากแล้วจะมาจากการสืบทอดจากบรรพบุรุษส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลานานหลายสิบหลายร้อยศตวรรษและฝังลึกไปในก้นบึ้งของจิตใจคนในเชื้อชาติเผ่าพันธุ์และประเทศนั้นๆจนกลายเป็น ความเลื่อมใสและศรัทธาต่อระบอบการปกครองของตนซึ่งเปรียบเสมือนกับว่าเป็นวิถีทางการดำรงชีวิตของตัวเอง  เป็นธรรมดาที่การปกครองจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยแต่ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่เกิดขึ้นทั้งหมดหรือในทันทีทันใด และที่สำคัญจะไม่อาจเปลี่ยนแก่นแท้ของรูปแบบการปกครองซึ่งสืบทอดกันมาอย่างยาวนานได้ แต่จะเปลี่ยนเฉพาะองค์ประกอบภายนอกเท่านั้น  และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นผมเรียกมันว่า"การเมือง"ที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงเช่น การปฎิวัติ การทำรัฐประหาร
ทางอ้อม เช่น การชุมนุมประท้วงในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการเมืองทั้งนั้น การปกครองจะสมบูรณ์แบบได้ก็ต้องอาศัยกลไกของทางด้านการเมืองเข้ามาเพื่อเป็นแรงขับดัน ประหนึ่งเหมือนกับว่า รถก็ต้องอาศัยน้ำมันเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน
    สำหรับต้นตอและสาเหตุของปัญหา
ก่อนที่ผมจะสรุปต้นตอและสาเหตุของปัญหาให้ทราบผมขอแยกตัวปัญหาเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งตัวปัญหาที่ว่าก็คือ ตัวบุคคลนั่นเอง ในที่นี้ผมไดแยกกลุ่มของบุคคลออกเป็น 3 ประเภท
  1. รักชาติยิ่งชีพ บุคคลประเภทนี้จะมีอุดมการณ์สูงส่งและยึดมั่นแน่วแน่กับความคิดของตัวเองรักพวกพ้อง เสียสละเพื่อส่วนรวม หวงแหนถิ่นกำเนิด ยอมหักแต่ไม่ยอมงอ
  2. รักชีพเยี่ยงชาติ บุคคลประเภทนี้จะมีอุดมการณ์แต่ไม่มาก ไม่ยึดมั่นกับสิ่งใดๆรักตัวเอง ที่ไหนดีกว่าก็พร้อมจะไป พลิ้วตามกระแส สอพลอ โกหกเก่ง ฉลาดในเรื่องโง่ๆ
  3. รักคือการลงทุน สำหรับบุคคลประเภทสุดท้ายนี้ จะอยู่เหนือกว่ากลุ่มคน 2 ประเภทที่กล่าวมา อุดมการณ์แทบไม่มีเลยสำหรับบุคคลประเภทนี้ ฉลาดหลักแหลม ไหวพริบเป็นเลิศ มีความเป็นผู้นำสูง กล้าตัดสินใจ ไม่ยอมเสียเปรียบใคร
   บุคคลทั้ง 3 ประเภทนี้ล้วนแล้วแต่เป็นต้นตอของปัญหาด้วยกันทั้งนั้นผมจะแยกตามสาเหตุของปัญหาในแต่ละกลุ่ม เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
  1. ปัญหามาจาก บุคคลประเภทที่ 3 สาเหตุ คือ บุคคลประเภทนี้ส่วนมากจะเป็นนักการเมือง นักธุรกิจ นักบริหาร หรือ เจ้าของกิจการต่างๆ และตำแหน่งหน้าที่การงานหรือกิจการต่างๆที่ได้มาย่อมเป็นผลพวงมาจากการลงทุนทั้งนั้น  และก็จะจบตรงที่การถอนทุนคืนแล้วโกยกำไร
  2. ปัญหามาจากบุคคลประเภทที่ 2 สาเหตุคือ บุคคลประเภทนี้ส่วนมากจะเป็นพวกชนชั้นกลาง รวมไปจนถึงเหล่า ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน ต่างๆ บางคนก็จะแฝงตัวอยู่ในกลุ่มของนักการเมือง และค่อนข้างจะอิทธิพล ด้วยนิสัยที่ไม่ยึดมั่นกับสิ่งใดนอกจากผลประโยชน์ของตัวเองจึงทำให้ เกิดช่องทางให้กลุ่มบุคคลประเภทที่ 3 เข้ามามีบทบาทกับกลุ่มบุคคลประเภทนี้โดยการหยิบยื่นผลประโยชน์ให้ แลกกับการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งภายใต้อำนาจที่กลุ่มคนประเภทที่ 2 มีซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้นในสังคม 
  3. ปัญหามาจาก บุคคลประเภทที่ 1 จริงๆก็ไม่น่าจะใช่ปัญหาถ้าพูดถึงเรื่อง จริยธรรม แต่ผมจะพูดถึงสาเหตุและที่มาของปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม ด้วยการที่มีนิสัยยึดมั่นในอุดมการ์ณของตัวเอง ยอมหักไม่แต่ยอมงอ ทำให้ทนไม่ได้เมื่อตัวเองหรือเห็นบุคคลที่ตนเองรักและเคารพเลื่อมใสศรัทธาต้องถูกกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบ เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม พูดง่ายๆก็คือไม่ได้รับความยุติธรรม ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำของกลุ่มบุคคล ที่ได้กล่าวมา 2 กลุ่มขั้นต้น บุคคลประเภทนี้จะมีอยู่แทบทุกสาขาอาชีพและทุกชั้นวรรณะทางสังคม พอเกิดการรวมตัวกันขึ้นก็จะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความชอบธรรมและอุดมการ์ณของตัวเองจนบางทีก็ลืมนึกถึงปัญหาที่ตามมา และอาจจะลุกลามใหญ่โต ซึ่งเกิดจากการต่อสู้ที่ไม่ลืมหูลืมตานั่นเอง
  4.        และนี่ก็คือสาเหตุหลักที่สำคัญของความขัดแย้งทางด้านการเมืองที่มีมาช้านานแม้แต่ในบ้านเราก็ตามแต่สำหรับบ้านเรา ในที่นี้ผมจะไม่บอกว่าใครผิดใครถูก และมันก็เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้นส่วนใครจะเห็นด้วยหรือไม่นั้นไม่จำเป็นสำหรับผม และผมก็คิดว่าทุกคนย่อมมีความคิดของตัวเองก็หวังว่าคงจะตัดสินใจเองได้ว่าใครผิดใครถูก

0 แสดงความคิดเห็น: